รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะตรงกันข้าม(candlesick pattern)
รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะตรงกันข้าม
(candlesick pattern)
ประวัติความเป็นมาของกราฟแท่งเทียน
การวิเคราะห์เชิงเทคนิคโดยอาศัยกราฟแท่งเทียนนั้น เจ้าของตำรับที่แท้จริงคือชาวญี่ปุ่น เขาคือ Mr.Munehisa Homma ซึ่งมีความเป็นมาคือ
เมื่อครั้งก่อนในสมัยอดีตช่วงประมาณ 200 กว่าปี ท่านได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าวประสบความสำเร็จ จนร่ำรวย รัฐบาลญี่ปุ่นสมัยนั้นจึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นที่ปรึกษาด้านการคลัง โดยท่าน Munehisa Homma เกิดในปี 1724 ในครอบครัวที่ร่ำรวยและทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าว เขามีความเชี่ยวชาญเรื่องการค้าข้าวเป็นอย่างยิ่ง มีความเข้าใจในตลาด เข้าถึงและรู้ซึ้งในอารมณ์ของผู้ซื้อเป็นอย่างดี ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล นิสัยของผู้ซื้อ-ผู้ขายในแต่ล่ะครั้ง มาทำการวิจัยในเชิงจิตวิทยา แล้วกำหนดให้อยู่ในรูปแบบแท่งเทียน ทำการเก็บประว้ติและสติถิ จากนั้นนำไปคำนวนศึกษาหาแนวโน้มต่างๆ เพื่อประกอบในการตัดสินใจที่แม่นยำขึ้น
เหตุผลโดยสรุป ที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมนำกราฟแท่งเทียน (Candlesticks)มาวิเคราะห์ในเชิงเทคนิคการเทรด เพื่อช่วยในการติดสินใจคือ
-
กราฟแท่งเทียน (Candlesticks) มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์เพื่อใช้สำหรับการซื้อขายเพราะ ประกอบไปด้วย ราคาเปิด (Open Price) , ราคาปิด (Close Price) , ราคาสูงสุด (High Price) , ราคาต่ำสุด (Low Price) โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเป็นกราฟแท่งเทียนเพียงแท่งเดียว
-
กราฟแท่งเทียน 1 แท่ง สามารถอธิบายอารมณ์และบรรยากาศการซื้อขายในตลาดได้เป็นอย่างดี
-
กราฟแท่งเทียนสามารถบอกได้ว่าการซื้อขาย ณ ขณะนั้น ใครมีพลังมากกว่ากันระหว่าง กระทิงกับหมี หรืออีกในหนึ่งก็คือ มีแรงส่งไปทางขึ้นหรือลง นั่นเอง
-
สามารถบอกได้ว่า ช่วงเวลาต่อจากนี้ไป มีโอกาสที่กราฟจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง ซึ่งหมายความว่า ตัวกราฟแท่งเทียนสามารถอ่านสัญญาณซื้อขายได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีดัชนีอื่นๆเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ซื้อขาย
รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะตรงกันข้าม 26 คู่ ที่ควรจดจำ
หมายเหตุ: แท่งเทียนสีเขียวหมายถึงหุ้นหรือค่าเงินที่เป็นขาขึ้น/แท่งเทียนสีแดงหมายถึงหุ้นหรือค่าเงินที่เป็นขาลง
1.Piercing Pattern VS Dark Cloud Cover
ขาขึ้น Piercing Pattern เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีเขียวของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในเทรนด์ขาลง โดยตัวแท่งเทียน (Body) มีลักษณะที่ค่อนข้างยาว และมีราคาปิดที่สูงเกินกว่าครึ่งของแท่งเทียนสีแดงก่อนหน้า ซึ่งตัวแท่งเทียนก่อนหน้าที่เป็นสีแดงนั้นก็มีความยาวอยู่ในระดับหนึ่ง แล้วมีราคาปิดเกือบถึงราคาต่ำสุดของแท่งเทียนที่อยู่ในเทรนด์ขาลงก่อนหน้านั้นเช่นกัน รูปแแบบแท่งเทียนที่มีลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงสัญญาณการกลับตัวของหุ้นหรือค่าเงินที่มีความรุนแรง ความหมายก็คือ อาจมีกลับตัวเปลี่ยนทิศทางจากขาลงเป็นขึ้นได้
ขาลง Dark Cloud Cover เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีเเดงของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้น โดยตัวแท่งเทียน (Body) มีลักษณะที่ค่อนข้างยาว และมีราคาปิดที่สูงเกินกว่าครึ่งของแท่งเทียนสีเขียวก่อนหน้า ซึ่งตัวแท่งเทียนก่อนหน้าที่เป็นสีเขียวนั้นก็มีความยาวอยู่ในระดับหนึ่ง แล้วมีราคาเปิดที่ใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของแท่งเทียนที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้นก่อนหน้านั้นเช่นกัน รูปแแบบแท่งเทียนที่มีลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงสัญญาณการกลับตัวของหุ้นหรือค่าเงินที่มีความรุนแรง ความหมายก็คือ อาจมีกลับตัวเปลี่ยนทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลงได้
2.Morning star patternVS Bearish Evening Star
ขาขึ้น Morning star pattern ลักษณะ: ตรงข้ามกับ Evening Star โดยที่เกิดตอนตลาดขาลง กล่าวคือประกอบด้วยแท่งเทียน 3 แท่ง แท่งแรกเป็นแท่งเทียนสีแดงขนาดใหญ่ตามมาด้วย แท่งเทียนสีเขียวเป็นช่องว่าง และตามมาด้วยแท่งเทียนสีเขียวเป็นช่องว่างและมีราคาปิดอยู่ ภายในขอบเขตของตัวเทียนแท่งแรก ความหมาย: บอกว่าตลาดหุ้นจะเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขึ้น
ขาลง Bearish Evening Star ลักษณะ: มีแท่งเทียนสีเขียว ที่ตามมาด้วยแท่งเทียนที่มีตัวเทียนขนาดเล็กโดยจะเป็นสีดำหรือขาวก็ได้ กระโดดสูงขึ้นห่างไปจนเป็นช่องว่าง และมีแท่งเทียนสีแดงเกิดขึ้น ตามต่ำลงมาจนเป็นช่องว่างเหมือนกัน โดยราคาปิดของแท่งเทียนสีแดงแท่งที่ 3 นี้ จะอยู่ภายในขอบเขตตัวเทียนของแท่งเทียนสีเขียววันแรก ความหมาย: บอกแนวโน้มหุ้นที่ขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นลง
3.Morning doji star pattern VS Bearish Evening Doji Star
ขาขึ้น Morning doji star pattern ลักษณะ: รูปแบบเหมือน Morning star แตกต่างเพียงตัวกลางเปลี่ยนจากแท่งเทียนขนาดเล็กเป็น DOJI แทน ความหมาย: เหมือน Morning star แต่แนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่จะขึ้นมีน้ำหนักมากกว่า
ขาลง Bearish Evening Doji Star ลักษณะ: เหมือน Evening Star แตกต่างเพียงตัวตรงกลางเปลี่ยนจาแท่งเทียนขนาดเล็กเป็น DOJI แทน ความหมาย: เหมือน Evening Starแต่มีน้ำหนัก เปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลงมากกว่า
4.Bullish Engulfing VS Bearish engulfing
ขาขึ้น Bullish Engulfing เป็นรูปแบบที่มีแท่งเทียนแท่งที่สอง(แท่งสีเขียวขวามือ) มีขนาด body (ตัวแท่ง) ยาวกว่า body ตัวแรก (แท่งสีแดง) ตามความหมายของ engulfing คือการกลืนกิน หรือห้อมล้อมครอบงำ ในการพิจารณานั้นจะไม่เกี่ยวกับไส้เทียน (Shadow) ลักษณะของ Engulfing ที่ดีสุดคือ แท่งตัวแรก(สีแดง)ควรจะเล็กสั้นๆ ส่วนแท่งที่สอง(สีเขียน) ควรจะยาวๆ และเพื่อความมั่นใจอาจจะรอยืนยันแท่งที่สอง-สาม (สีเขียว) ในวันถัดไป โดยแท่งต้องยาวขึ้น และมีแรงซื้อหนาแน่นเพิ่มขึ้น เช่นเปิดราคากระโดดจนมี Gapd ความหมาย: บอกแรงซื้อหุ้นหรือค่าเงินเพิ่มมากขึ้น ขาขึ้นกำลังมีอิทธิพล สามารถเอาชนะขาลงได้
ขาลง Bearish engulfing กรณีตรงกันข้ามกับ Bullish Engulfing คือเกิดแท่งเทียนสีแดงขึ้น โดยมีลักษณะครอบงำกลืนกินแท่งเดิมที่เป็นสีเขียว ส่วนรูปแบบของ Bearish engulfing ที่ดีที่สุดก็เช่นกันคือ แท่งเดิม(สีเขียว)ควรจะสั้นๆ เพื่อความแม่นยำขึ้นควรรอดูความหนาแน่นในการขายของแท่งเทียนในอีกสอง- สามวันต่อไป
ความหมาย: บอกเริ่มมีแรงขายเข้ามาในจำมาก ตอนนี้ขาลงสามรถชนะขาขึ้นได้แล้ว มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
5.Bullish Harami VS Bearish Harami
ขาขึ้น Bullish Harami รูปแบบแท่งเทียนจะเหมือนคนท้อง ซึ่งมาจากคำว่า “Harami” เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ใช้เรียกคนท้อง จะประกอบด้วยแท่งเทียนในวันเเรก(สีแดง)ที่ยาวกว่า ตามมาด้วยแท่งเที่ยนวันที่สองล่าสุดที่สั้นกว่า(สีเขียว) ปัจจัยสำคัญคือสัดส่วนของแท่งเทียนทั้งสองต่างกันมาก จึงยังไม่สามารถยืนยันการกลับทิศทางของหุ้นหรือค่าเงินได้ ฉนั้นจึงต้องรอการยืนยันจากแท่งเทียนในวันที่สาม ในการยืนยันการกลับทิศทางของค่าเงินหรือหุ้นที่ชัดเจนคือ แท่งเทียนตัวที่สามจะต้องเป็นสีเขียว และมีราคาเปิดแบบกระโดดจากแท่งเดิม(สีเขียว) มาอยู่ในราคาปิดของแท่งสีเขียวตัวที่สาม ในราคาที่สูงขึ้นไปมากๆ
ขาลงBearish Harami รูปแบบแท่งเทียนก็เหมือนคนท้อง เช่นเกียวกับ Harami ขาขึ้น จะประกอบด้วยแท่งเทียนในวันเเรก(สีเขียว)ที่ยาวกว่าแท่งเที่ยนในวันที่สอง(สีแดง) ปัจจัยสำคัญคือสัดส่วนของแท่งเทียนทั้งสองต่างกันมาก จึงยังไม่สามารถยืนยันการกลับทิศทางของหุ้นหรือค่าเงินได้ ฉนั้นจึงต้องรอการยืนยันจากแท่งเทียนในวันที่สาม ในการยืนยันการกลับทิศทางของค่าเงินหรือหุ้นที่ชัดเจนนั้น แท่งเทียนตัวที่สามจะต้องเป็นสีเเดง และมีราคาเปิดแบบกระโดดจากแท่งเดิม(สีเเดง) มาอยู่ในราคาปิดของแท่งสีเเดงตัวที่สาม ในราคาที่สูงขึ้นไปมากๆ
6.Bullish Harami Cross VSBearish Harami Cross
ขาขึ้น Bullish Harami Cross เกิด D0ji Line (ราคาเปิดกับปิดเท่ากัน) ในวันล่าสุด คือกระโดดลงห่างจากแท่งเทียนสีแดง ก่อนหน้า(วันแรก)จนเป็นช่องว่าง ในการพิจารณานั้น ความสูง-ต่ำ ของไส้เทียน Doji จะไม่เกี่ยว ความหมาย : บอกแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ลงมาอาจจะเปลี่ยนเป็นขึ้น และถ้าจะให้มั่นใจมากยิ่งขึ้น ควรมีแท่งเทียนสีเขียวตามมา(วันที่สาม) โดยมีราคาเปิดแบบกระโดด gap หรือ มีราคาปิดที่สูงขึ้นจาก doji
ขาลงBearish Harami Cross เกิด D0ji Line (ราคาเปิดกับปิดเท่ากัน) กระโดดขึ้นห่างจากแท่งเทียนสีเขียวก่อนหน้า จนเป็นช่องว่างโดยไส้เทียนของ DOJI จะห่างจากแท่งเทียนสีขาว หรือไม่ก็ได้
ความหมาย: บอกแนวโน้มหุ้นที่ขึ้นมาอาจจะเปลี่ยนเป็นลง หากจะให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นกว่านี้ หลักจากวันนี้แล้ว แท่งเทียนควรจะเป็นสีแดงเกิดขึ้นตามมาถือเป็นการยืนยัน
7.Bullish Doji star VS Bearish Doji star
ขาขึ้น Bullish Doji star คือรูปแบบแท่งเทียนที่เกิดเป็น Doji Line ขึ้น (ราคาเปิดกับปิดเท่ากัน) มีการกระโดดลงห่างจากแท่งเทียนสีแดงก่อนหน้าจนเป็นช่องว่าง โดยไส้เทียนของ Doji จะห่างหรือไม่ห่างจากแท่งเทียนสีแดงก็ได้ ความหมายคือ : บอกแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ลงมาอาจจะเปลี่ยนเป็นขึ้น และจะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นถ้ามีแท่งเทียนสีเขียวเกิดขึ้นตามมา
Bearish Doji star คือรูปแบบแท่งเทียนที่เกิดเป็น Doji Line ขึ้น(ราคาเปิดกับปิดเท่ากัน) มีการกระโดดขึ้นห่างจากแท่งเทียนสีเขียวก่อนหน้านี่จนเป็นช่องว่าง โดยไส้เทียนของ โดยไส้เทียนของ Doji จะห่างหรือไม่ห่างจากแท่งเทียนสีเขียวก็ได้
ความหมายคือ: บอกแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ขึ้นมาอาจจะเปลี่ยนเป็นลง และจะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นถ้ามีแท่งเทียนสีแดงเกิดขึ้นตามมา
8.Bullish Dragonfly Doji VS Bearish Dragonfly Doji
ขาขึ้น Bullish Dragonfly Doji เป็นรูปแบบแท่งเทียนที่ไม่มี body มีรูปลักษ์คล้ายๆกับ hammer โดยเกิดขึ้นจากจุดที่ต่ำสุดหรืออยู่ในช่วงระหว่างขาลง (Downtrend) ปัจจัยที่สำคัญ รูปแบบ dragonfly doji จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ถ้าแท่งต่อไปเป็นสีเขียว และยิ่งเปิดด้วยราคาที่เกิด gap หรือราคาปิดที่ระดับสูงกว่า dragonfly doji มากๆ ก็จะเป็นการยืนยันการกลับตัวเป็นขาขึ้นได้เป็นอย่างดี
ขาลงBearish Dragonfly Doji ลักษณะเป็นรูปแบบของแท่งเทียนหนึ่งแท่งเกิดขึ้นที่จุดสูงสุดหรือในช่วงขาขึ้น (Uptrend) ซึ่งรูปแบบ dragon fly ก็คล้าย hanging man เช่นกัน ต่างกันตรงที่ dragon fly ไม่มีแท่ง (ฺbody) แต่ hanging man จะมีแท่งเล็กอยู่ด้วย (Small body) ปัจจัยที่สำคัญ รูปแบบ bearish dragonfly doji จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ถ้ามีแท่งเทียนสีแดงเกิดขึ้นตามมา และยิ่งถ้าราคาที่เปิดเกิด gap หรือราคาปิดที่ระดับต่ำกว่า dragonfly doji มากๆ ก็เท่ากับว่า นั้นคือการยืนยันการกลับตัวเป็นขาลงอย่างชัดเจน
9.Hammer VS Hanging Man
ขาขึ้น Hammer ลักษณะ: รูปร่างเหมือน Hanging Man แต่ต่างกันที่ Hammer เกิดขึ้นตอนขาลง(Downtrend) กล่าวคือเป็นแท่งเทียนที่มีรูปร่างคล้ายฆ้อน (ตัวเทียนจะเป็นสีเขียวหรือแดงก็ได้) มีขนาดเล็กที่ยอดสูงของวัน และมีไส้เทียนด้านล่าง ที่มีความยาวอย่างน้อยเป็น 2 เท่า ของแท่งเทียน ส่วนไส้เทียนด้านบนจะมีหรือไม่มีก็ได้ (หากไม่มีจะดีกว่า) แท่งเทียนที่เหมือนรูปค้อนนี่มักจะเกิดขึ้นตอนที่มีปริมาณการขายเกิดขึ้นและทำให้ราคาลงต่ำ แต่ก่อนตลาดปิดได้มีปริมาณการซื้อเข้ามาเยอะกว่าการขายในตอนแรกจึงทำให้สุดท้ายแล้วก็ปิดเป็นบวก ความหมายคือ: บอกว่าแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ลงมาจะเปลี่ยนเป็นขึ้น
ขาลง Hanging Man ลักษณะ: เหมือน Hammer หรือการแขวนคอ และรายละเอียดอื่นๆก็เหมือนกันกันแต่แตกต่างกันตรงที่ Hanging Man จะเกิดในช่างขาขึ้น (Uptrend)
ความหมายคือ: บอกถึงแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นลง
10.Bullish Inverted Hammer VS Shooting Star
ขาขึ้น Bullish Inverted Hammer รูปแบบเหมือน Hammer แต่เกิดในตอนขาลง กล่าวคือเป็นแท่งเทียนที่มีตัวเทียนขนาดเล็ก โดยจะเป็นสีอะไรก็ได้เกิดที่ระดับราคาต่ำสุดของวัน และมีไส้เทียนทางบนที่อย่างน้อยควรมีความยาวมากกว่าตัวเทียน (Real body) 2 เท่า
ความหมาย : บอกว่าหุ้นจะเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขึ้น ทั้งนี้จะมีน้ำหนักมากขึ้น ถ้ามีแท่งเทียนสีเขียวเกิดขึ้นตามมา
ขาลง Shooting Star รูปของตัวแท่งเทียนจะสั้นแต่มีไส้บนยาว (Upper Shadow) ส่วนไส้ด้านล่าง( Lower Shadow) จะสั้นมากหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ (ถ้าไม่มีจะดีกว่า) รูปแบบของ Shooting Star นี่ จะเกิดขึ้นในช่วงตลาดขาขึ้น และแท่งเทียนเพียงแท่งเดียวยังไม่สามารถยืนยัน น้ำหนักทิศทางการกลับตัวของหุ้นหรือค่าเงินจากขึ้นเป็นลงได้ ต้องอาศัยแท่งเทียนในวันถัดไปที่เป็นสีแดงอีกทีเพื่อความมั่นใจ
ความหมาย : บอกแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นลง
11.Bullish Belt Hold VS Bearish Belt Hold
ขาขึ้น Bullish Belt Hold รูปแบบของแท่งเทียนเป็นแท่งสีเขียวที่มีราคาเปิดตกลงมาจากวันก่อนๆมาก และไม่มีไส้เทียนด้านล่างเกิดขึ้นเลย (Lower Shadow) จากนั้นมีแรงซื้อที่ดึงราคาหุ้นหรือค่าเงินขึ้นไปๆ จนไปปิด ณ จุดที่ใกล้เคียงระดับราคาสูงสุดของวัน จึงทำให้เป็นลักษณะมีไส้ด้านบนเพียงสั้นๆ เพื่อความมั่นใจในทิศทางกลับจากขาลงเป็นขาขึ้น ควรรอแท่งเทียนสีเขียวอีกตัวที่มีราคาปิดที่สูงๆขึ้นมาอีกเป็นการยืนยัน
ขาลง Bearish Belt Hold รูปแบบของแท่งเทียนเป็นสีแดง คือมีราคาเปิดที่สูงขึ้นมาเรื่อยๆจากวันก่อนมาก แต่พอมาถึงวันสุดท้ายล่าสุด ราคาเปิดไม่เพิ่มขึ้น คืออยู่กับที่เท่าเดิมเท่ากับในราคาเปิดของเมื่อวาน อีกทั้งไม่มีไส้เทียนด้านบนเกิดขึ้นเลย(ราคาไม่เพิ่มขึ้น) บวกกับมีแรงขายในราคาลดลงเป็นจำนวนมากขึ้น จนดันให้ราคาปิดของหุ้นหรือค่าเงินต่ำลงไปเรื่อยๆจนใกล้ถึงราคาต่ำสุดของวัน จึงเกิดเป็นลักษณะมีไส้เทียนสั้นๆตรงด้านล่าง เพื่อความมั่นใจของทิศทางการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง ควรรอให้เกิดแท่งเทียนสีแดงขึ้นอีกครั้ง เป็นการยืนยัน
12.Bullish Gravestone Doji VS Bearish Gravestone Doji
ขาขึ้น Bullish Gravestone Doji ลักษณะของ แท่งเทียน Grave Stone Doji เป็นรูปแบบที่มีราคาเปิดเท่ากับราคาปิด จะประกอบด้วยไส้เทียนด้านบน (๊Upper Shadow)เท่านั้น จะไม่มีไส้เทียนด้านล่าง( lower Shadow)
Grave Stone Doji มีลักษณะคล้ายๆกับ Inverted Hammer ต่างกันตรงที่ Stone doji ไม่มีตัวที่เป็นแท่ง (Body)
เพื่อความมั่นใจในทิศทางการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นของราคาหุ้นหรือค่าเงิน ควรรอแท่งเเท่งเทียนอีกตัวที่เป็นสีเขียวเป็นการยืนยัน ร่วมทั้งให้มีราคาเปิดสูงกว่าราคาปิดของ doji และหากเปิดด้วยราคา gap มากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการยืนยันการกลับตัวแรงมากขึ้นเท่านั้น
ขาลงBearish Gravestone รูปแบบลักษณะและความหมายก็ตรงกันข้ามกับ Bullish Gravestone Doji คือ เกิดเป็นรูปแบบ Bearish Gravestone Doji เนื่องจากราคาเปิดเท่ากับราคาปิดในปัจจุบัน และมีไส้เทียนเกิดขึ้นอยู่ด้านบน ซึ้งก่อนหน้านี่อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีแท่งเทียนสีเขียวที่มีแรงซื้งสะสมมาอย่างต่อเนื่อง ต่อมาล่าสุดเกิด Bearish Gravestone Doj เพราะแรงซื้อสู้แรงขายไม่ได้ ทำให้หุ้นหรือค่าเงินปรับตัวลดต่ำลงมาปิดใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาเปิด เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลเพราะซื้อหุ้นหรือสกุลมาไว้ในราคาสูง ทำให้เกิดแรงขายสะสมในวันถัดมา เทรนด์สัญญาณการพลิกตัวกลับนี้ เพื่อความมั่นใจ ควรรอดูแท่งเทียนที่เกิดเป็นสีแดงอีกตัวในวันอีกวันเป็นการ confirm
13.Three Inside Up VS Three Inside Down
ขาขึ้น Three Inside Up รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีพื้นฐานมาจาก harami โดยเพิ่มแท่งเทียนแท่งที่สามเข้ามาเพื่อเป็นการยืนยันทิศทางหุ้นจะปรับทิศ ทางเป็นขาขึ้นได้ เหตุที่แท่งที่สามที่เป็น white candle สามารถ confirm การกลับทิศทางของหุ้นเป็นขาขึ้นได้นั้นเพราะมันสามารถ breakout แนวต้านที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมระหว่างราคาเปิดของแท่งดำ และราคาปิดของ white small body เงื่อนไขการเกิดรูปแบบ three inside up ในระหว่างที่ราคาหุ้นมีทิศทางที่ปรับลดลงต่อเนื่องและเมื่อแรงเทขายสามารถ control ตลาดได้ทำให้กราฟเกิดเป็นแท่งดำ หลังจากนั้นในวันที่สองถัดมา ราคาเปิดอยู่เหนือราคาปิดของแท่งดำ ทำให้เกิดสัญญาณว่า ราคาหุ้นไม่น่าจะต่ำกว่าเมื่อวานอีกแล้ว แต่เนื่องจากการเกิด small body ของแท่งเทียนวันที่สองนั้น บ่งบอกถึงแรงซื้อและแรงขายยังดูท่าทีกันอยู่ ยังไม่มีฝ่ายใดสามารถ control ตลาดได้ จึงต้อง confirm ด้วยแท่งเทียนของวันที่สาม เมื่อแท่งเทียนของวันที่สามเป็น white candle ที่มีราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดของแท่งเทียนดำวันแรกนั้น แสดงให้เห็นว่าแรงซื้อสามารถเอาชนะแรงขายและ control ตลาดได้จึงส่งสัญญาณเกิด reversal ขึ้นต่อไปได้ ปัจจัยที่สำคัญ รูปแบบ Three Inside Up เป็น pattern ที่มีความน่าเชื่อถือสูง แต่ถ้าจะให้มั่นใจยิ่งขึ้นแท่งเทียนแท่งที่สามควรเป็น white candle ที่มีราคาเปิดกระโดด gap จากแท่งที่สอง หรือมีราคาปิดของแท่ง white candle ปิดที่ระดับราคาสูง
ขาลง Three Inside Down ลักษณะของ แท่งเทียน รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีพื้นฐานมาจาก harami โดยเพิ่มแท่งเทียนแท่งที่สามเข้ามาเพื่อเป็นการยืนยันทิศทางหุ้นจะปรับทิศทางเป็นขาลงได้ เหตุที่แท่งที่สามที่เป็น black candle สามารถ confirm การกลับทิศทางของหุ้นเป็นขาลงได้นั้นเพราะมันสามารถ breakdown แนวรับที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมระหว่างราคาเปิดของแท่งขาวและราคาปิดของ small black body ปัจจัยที่สำคัญ รูปแบบ Tree Inside Down เป็น pattern ที่มีความน่าเชื่อถือสูง แต่ถ้าจะให้มั่นใจยิ่งขึ้นแท่งเทียนแท่งที่สามควรเป็น black candle ที่มีราคาเปิดกระโดด gap จากแท่งที่สอง หรือมีราคาปิดของแท่ง black candle ปิดที่ระดับราคาต่ำราคาเปิดของ white candle
14.Tweezer Bottoms vs Tweezer Tops
ขาขึ้น Tweezer Bottoms คำว่า Tweezers Bottoms นี้ คือการเรียกแท่งเทียนคู่ที่มีลักษณะจุดต่ำสุดเท่ากัน โดยจุดต่ำสุดของแท่งเทียนทั้งสองนี้ที่ว่านี้ หมายรวมถึงไส้เทียน (Shadow) และตัวแท่งเทียน (Body) รวมทั้งแท่งเทียนที่มีรูปแบบเป็น Doji ด้วย รูปแบบของ Tweezers Bottoms ยังไม่สามารถแสดงการกลับตัวของเทรนด์ได้ชัดเจน และหากแท่งเทียนตัวถัดไปเกิดสวิงต่ำหรือสูงขึ้น Tweezers Bottoms นั้นก็จะกลายเป็นตำแหน่งสูงสุดหรือต่ำสุดของสวิงทันที และหากมีแรงเหวี่ยงที่วกกลับอีก ผู้เทรดก็สามารถใช้แท่ง Tweezers Bottoms นี้เป็นแนวรับหรือแนวต้านได้เลย ฉะนั้น Tweezers Bottoms จึงเป็นตำแหน่งแท่งเทียนที่บ่งบอกการสัญญาณพักตัวชั่วคราวของ Bullish มากกว่าที่จะเป็นสัญญาณการกลับตัว
ขาลง Tweezer Tops ในส่วนของแท่งเทียนที่เรียกว่า Tweezers Tops นั้น ก็หมายถึงคู่แท่งเทียนที่มีลักษณะจุดสูงสุดเท่ากัน โดยจุดสูงสุดของคู่แท่งเทียนที่ว่านี้ หมายรวมถึงไส้เทียน (Shadow) และตัวแท่งเทียน (Body) รวมทั้งแท่งเทียนที่มีรูปแบบลักษณะเป็น Doji ด้วย รูปแบบของ Tweezers Tops ยังไม่สามารถแสดงการกลับตัวของเทรนด์ได้ชัดเจนเช่นกัน หากมีแท่งเทียนตัวถัดไปเกิดสวิงต่ำหรือสูงขึ้น Tweezers Tops นั้นก็จะกลายเป็นตำแหน่งสูงสุดหรือต่ำสุดของสวิงทันที และหากมีแรงเหวี่ยงที่วกกลับอีก ผู้เทรดก็สามารถใช้แท่ง Tweezers Tops นี้ เป็นแนวต้านหรือแนวรับได้เลย ฉะนั้น Tweezers Tops จึงเป็นตำแหน่งแท่งเทียนที่บ่งบอกการสัญญาณพักตัวชั่วคราวของ ฺBearish มากกว่าที่จะเป็นสัญญาณการกลับตัว
15.Bullish Abandoned Baby VSBearish Abandoned Baby
ขาขึ้น Bullish Abandoned Baby คือลักษณะที่แท่งเทียน 2 แท่งที่มีรูปเหมือนเครื่องหมายบวก (Doji Star) อยู่ตรงกลาง ซึ่งรูปเครื่องหมายบวกนั้นได้กระโดดลงห่างจากแท่งเทียนก่อนหน้า(แท่งเทียนสีแดง) จนเป็นช่องว่าง Window หรือ Gap หลังจากนั้นเกิดมีแท่งเทียนสีเขียวกระโดดขึ้นห่างจากช่องว่างของ Window หรือ Gap แล้วมีไส้เทียนยื่นออกมาจะเป็นบนหรือล่างก็ได้ ขอให้ไม่ติดกัน ลักษณะเช่นนี้คือสัญญาณบ่งบอกแนวโน้มที่ลงมาจะเปลี่ยนเป็นขึ้น
ขาลง Bearish Abandoned Baby คือลักษณะที่แท่งเทียน 2 แท่งที่มีรูปเหมือนเครื่องหมายบวก (Doji Star) อยู่ตรงกลาง ซึ่งรูปเครื่องหมายบวกนั้นได้กระโดดขึ้นห่างจากแท่งเทียนก่อนหน้า(แท่งเทียนสีเขียว) จนเป็นช่องว่าง Window หรือ Gap หลังจากนั้นเกิดมีแท่งเทียนสีเเดง กระโดดลงห่างจากช่องว่างของ Window หรือ Gap แล้วมีไส้เทียนยื่นออกมาจะเป็นบนหรือล่างก็ได้ ขอให้ไม่ติดกัน ลักษณะเช่นนี้คือสัญญาณบ่งบอกแนวโน้มที่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นลง
16.Bullish Marubozu VS Bearish Marubozu
ขาขึ้น Bullish Marubozu คือรูปแบบแท่งเทียนที่เป็นสีเขียวมีลักษณะที่มีแต่ตัวแท่งเทียน (Body) ไม่มีไส้เทียน (Shadow) ความหมายคือราคาเปิดเท่ากับราคาต่ำสุด และ ราคาปิดเท่ากับราคาสูงสุด แท่งเทียนที่ออกมาเป็นรูปแบบนี้แสดงถึงภาวะของตลาดที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างชัดเจน ตลาดยังคงจะอยู่ในขาขึ้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีแกว่งไปในทางลบบ้าง แต่ยังมีโอกาสที่จะกลับคืนมาสู่ภาวะขาขึ้นต่อไป
ขาลง Bearish Marubozu คือรูปแบบแท่งเทียนที่เป็นสีแดง มีลักษณะที่มีแต่ตัวแท่งเทียน (ฺBody) ไม่มีไส้เทียน (Shadow) ราคาเปิดเท่ากับราคาสูงสุด ราคาปิดเท่ากับราคาต่ำสุด แท่งเทียนรูปแบบนี้แสดงถึงภาวะของตลาดที่อยู่ในช่วงขาลง ที่ชัดเจน ตลาดยังคงจะอยู่ในช่วงขาลงต่อไป อาจจะมีแกว่งขึ้นบ้างในบางครั้ง แต่โอกาสที่จะกลับมาสู่ภาวะขาลงยังมีอยู่
17.BullishSpinning Top VS Bearish Spinning Top
ขาขึ้น BullishSpinning Top มีลักษณะเป็นแท่งเทียนสีเขียวที่มีตัวแท่งเทียน(ฺBody)ขนาดเล็กและสั้นอยู่ตัวกลางระหว่างไส้เทียน (Shadow) ที่ยาวๆของทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยแท่งเทียนที่มีลักษณะเป็น Bullish Spinning Top นี้ บ่งชี้ว่าแรงซื้อและแรงขายมีปริมาณเท่า ๆ กัน ไม่มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ราคาปิดไม่แตกต่างจากราคาเปิดเท่าไหร่ ตลาดยังคงมีความลังเล แนวโน้มที่ยังไม่ชัดเจน เพื่อความมั่นใจเกี่ยวกับทิศทางของตลาด ควรรอ Confirm ด้วยแท่งเทียนอีกตัว เช่น กรณีกลับทิศทางเป็นขาลงจะเกิดเป็นสีแดง ถ้ายังอยู่ในขาขึ้นจะเกิดสีเขียวเป็นต้น
ขาลง Bearish Spinning Top คือแท่งเทียนสีเเดงที่มีตัวแท่งเทียน (ฺBody)ขนาดเล็กและสั้นอยู่ตรงกลางระหว่างไส้เทียน (Shadow) ที่ยาวๆของทั้งด้านบนและด้านล่าง รูปแบบ Bearish Spinning top นี้ บ่งบอกถึงทั้งฝ่ายซื้อและฝั่งขาย แย่งชิงราคากัน ยังเลือกทิศทางไม่ได้ ตลาดยังคงมีความลังเล ไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ยังไม่มีฝั่งไหนเป็นผู้ชนะ เพื่อความมั่นใจเกี่ยวกับทิศทางของตลาด ควรรอ Confirm ด้วยแท่งเทียนอีกตัว เช่น กรณีกลับทิศทางเป็นขาขึ้นจะเป็นสีเขียว หากยังคงอยู่ในช่วงขาลงต่อไป จะเป็นสีแดงนั่นเอง
18.Bullish Long-legged dojiVS Bearish Long-legged doji
ขาขึ้น Bullish Long-legged doji คือรูปแบบแท่งเทียนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นช่วงขาลง(Downtrend) แล้วเกิดแท่งเทียนที่มีลักษณะของไส้เทียนด้านบนและด้านล่างเป็นเส้นยาวๆ มีขนาดความยาวของไส้เทียนทั้งสองเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ส่วนตัวแท่งเทียน(ฺBody) มีลักษณะเล็กหรือสั้นมากๆจึงดูคล้ายเป็นเส้นแนวนอน จากรูปแบบที่เกิดเป็น Bullish Long-legged doji นี้ กล่าวโดยสรุปมีความหมายว่า มีแรงซื้อและแรงขายในจำนวนที่มากๆ ทำให้ราคามีความผันผวน ไม่มีความชัดเจน นักลงทุนจึงเกิดความสับสน ส่งผลให้ราคาปิดใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาเปิด รูปแบบเช่นนี้จึงยังสรุปทิศทางของแนวโน้มได้ไม่แน่นอน เพื่อความมันใจในการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นของหุ้นหรือค่าเงิน จึงควรรอ confirm ด้วยแท่งเทียนสีเขียวอีกแท่ง ที่มีราคาเปิดกระโดด gap ขึ้นไป
ขาลง Bearish Long-legged doji คือรูปแบบแท่งเทียนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นช่วงขาขึ้น (Uptrend) แล้วเกิดแท่งเทียนที่มีลักษณะของไส้เทียนด้านล่างและด้านบนเป็นเส้นยาวๆ มีขนาดความยาวของไส้เทียนทั้งสองเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ส่วนตัวแท่งเทียน (ฺBody) มีลักษณะเล็กหรือสั้นมากๆจึงดูคล้ายเป็นเส้นแนวนอน จากรูปแบบที่เกิดเป็น Bearish Long-legged doji นี้ กล่าวโดยสรุปมีความหมายว่า มีแรงซื้อและแรงขายในจำนวนที่มากๆ ทำให้ราคามีความผันผวน ไม่มีความชัดเจน นักลงทุนจึงเกิดความสับสน ส่งผลให้ราคาปิดใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาเปิด รูปแบบเช่นนี้จึงยังสรุปทิศทางของแนวโน้มได้ไม่แน่นอน เพื่อความมันใจยิ่งขึ้นของการกลับตัวของหุ้นหรือค่าเงินจากขาขึ้นเป็นขาลง ควรรอ confirm ด้วยแท่งเทียนสีเแดงอีกแท่ง ที่มีราคาเปิดกระโดด gap ลงมา
19.Bullish Kicking PatternVS Bearish Kicking Pattern
ขาขึ้น Bullish Kicking Pattern เป็นลักษณะรูปแบบเเท่งเทียนที่เกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้เป็นช่วงขาลง (Downtrend) โดยในช่วงขาลงนั้นเป็นแท่งเทียนสีแดงชนิด Marubozu (แท่งเทียนที่ไม่มีไส้ทั้งด้านบนและล่างหรืออาจจะมีแต่สั้นมากๆ) ต่อจากนั้น ล่าสุดเกิดเทรนด์ขาขึ้นเป็นแท่งเทียนสีเขียวชนิด Marubozu เช่นกัน โดยมีราคาปิดที่กระโดดขึ้นจากแท่งเทียนสีแดง จนเกิด Gap (ช่องว่างที่มีระยะห่าง)ขึ้น ลักษณะของ Bullish Kicking Pattern ถือเป็นรูปแบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง ในสัญญาณทิศทางของการกลับตัว จะให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ควรจะ confirm ด้วยอีกแท่งที่เป็นสีเขียว ที่มีราคาเปิดกระโดดจนเกิด gap หรือมีราคาปิดที่เหนือขึ้นไปอีก
ขาลง Bearish Kicking Pattern เป็นลักษณะรูปแบบเเท่งเทียนที่เกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้เป็นช่วงขาขึ้น (Uptrend) โดยในช่วงเวลาขาขึ้นดังกล่าว เป็นแท่งเทียนสีเขียวชนิด Marubozu (แท่งเทียนที่ไม่มีไส้ทั้งด้านบนและล่างหรือาจจะมีแต่สั้นมากๆ) ต่อมาล่าสุดเกิดเทรนด์ขาลงเป็นแท่งเทียนสีแดงชนิด Marubozu เช่นกัน โดยมีราคาปิดที่กระโดดลงจากแท่งเทียนสีเขียวจนเกิด Gap (ช่องว่างที่มีระยะห่าง)ขึ้น ลักษณะของ Bearish Kicking Pattern ถือเป็นรูปแบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง ในสัญญาณทิศทางของการกลับตัว จะให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ควรมี confirm ด้วยอีกแท่งที่เป็นสีเเดง ที่มีราคาปิดกระโดดลงจนเกิด gap หรือมีราคาปิดที่ต่ำลงไปอีก
20. 3 Bullish Soldier VS 3Bearish Soldier
ขาขึ้น 3 Bullish Soldier เป็นแท่งเทียนสีเขียวที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้น มีลักษณะที่แท่งเทียนตัวหลังอาจจะเท่ากัน หรือยาวกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า ในขณะที่ราคาปิดสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ตามลำดับ 1-2-3 ของแท่นเทียนทั้งสาม รูปแบบเช่นนี้บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของในเทรนด์ขาขึ้น แต่มีข้อที่ควรระวังคือ หากแท่งเทียนที่ออกมามีขนาดสั้นกว่าเดิมเรื่อยๆ เช่นแท่งที่ 3 สั้นกว่าแท่งที่ 2 และแท่งที่ 2 สั้นกว่าแท่งแรก ถึงแม้จะยังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นก็ตาม แต่อาจจะมีการกลับตัวหรือกลับทิศทาง (Reversal Pattern) ลงได้ แทนที่จะอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นต่อไป (Uptrend Continuous Pattern)
ขาลง 3 Bearish Soldier เป็นแท่งเทียนสีแดง ที่อยู่ในเทรนด์ขาลง มีลักษณะที่แท่งเทียนตัวหลังอาจจะเท่ากัน หรือยาวกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า ในขณะที่ราคาปิดต่ำลงๆมาเรื่อยๆ ตามลำดับ 1-2-3 ของแท่นเทียนทั้งสาม รูปแบบเช่นนี้บ่งบอกถึงแรงขาลงที่น้ำหนักในเทรนด์ แต่มีข้อที่ควรระวังคือ ควรตรวจสอบเทียนให้รอบครอบคือ หากแท่งเทียนที่ออกมามีขนาดสั้นกว่าเดิมลงไปเรื่อยๆ เช่นแท่งที่ 3 สั้นกว่าแท่งที่ 2 และแท่งที่ 2 สั้นกว่าแท่งแรก ถึงแม้จะยังอยู่ในเทรนด์ขาลงก็ตาม แต่อาจจะมีการกลับตัวหรือกลับทิศทาง (Reversal Pattern) ขึ้นได้ แทนที่จะอยู่ในเทรนด์ขาลงต่อไป (Downtrend Continuous Pattern)
21.Bullish On Neck Line VS Bearish On Neck Line
ขาขึ้น Bullish On Neck Line ลักษณะเป็นแท่งเทียนสีเเดงที่เกิดขึ้นในช่วงขาขึ้น โดยได้ตามหลังแท่งเทียนสีเขียวก่อนหน้า และมีราคาปิดที่อยู่สูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งเทียนก่อนหน้าเช่นกัน รูปแบบแท่งเทียนมีลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ขึ้นมานั้นจะยังคงขึ้นต่อไป และยิ่งถ้าหลังจากนี้เกิดแท่งเทียนอีกแท่ง (สีอะไรก็ได้) ที่มีราคาปิดและเปิดต่ำกว่าราคาต่ำสุดของแท่งเทียนสีแดง จะเท่ากับเป็นการยืนยันช่วงขาขึ้นว่ายังคงเป็นเช่นนั้น
ขาลง Bearish On Neck Line ลักษณะเป็นแท่งเทียนสีเขียวที่เกิดขึ้นในช่วงขาลง โดยได้ตามหลังแท่งเทียนสีแดงก่อนหน้า และมีราคาปิดที่อยู่ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของแท่งเทียนก่อนหน้าเช่นกัน รูปแบบแท่งเทียนมีลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่ลงมาจะยังคงลงต่อไป ยิ่งถ้าหลังจากนี้เกิดแท่งเทียนอีกแท่ง (สีอะไรก็ได้) ที่มีราคาปิดและเปิด ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของแท่งเทียนสีเขียว จะเท่ากับเป็นการยืนยันช่วงขาลงว่ายังคงเป็นเช่น
22.Bullish Separating Lines VSBearish Separating Lines
ขาขึ้น Bullish Separating Lines เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีเขียวที่เกิดขึ้นในช่วงขาขึ้น โดยได้ตามหลังแท่งเทียนก่อนหน้านี้ที่เป็นสีแดง ซึ่งมีราคาเปิดที่เท่ากันกับราคาปิดของแท่งเทียนสีแดง รูปแบบลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่เป็นขาขึ้น จะยังขึ้นต่อไป เพื่อเป็นการยืนยันที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแท่งเทียนต่อไปควรเป็นสีเขียว
ขาลง Bearish Separating Lines เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีแดงที่เกิดขึ้นในช่วงขาลง โดยได้ตามหลังแท่งเทียนก่อนหน้านี้ที่เป็นสีเขียว ซึ่งมีราคาปิดที่เท่ากันกับราคาเปิดของแท่งเทียนสีเขียว รูปแบบลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงแนวโน้มหุ้นหรือค่าเงินที่เป็นขาลง จะยังคงลงต่อไป เพื่อเป็นการยืนยันที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแท่งเทียนต่อไปควรเป็นสีแดง
23.Bullish Tri Star VSBearish Tri Star
ขาขึ้น Bullish Tri Star เป็นรูปแบบแท่งเทียนที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย ลักษณะคือในช่วงเทรนด์ขาลง เกิดมีแท่งเทียนรูปแบบ Doji ขึ้น 3 ตัว โดยตัวแรกและตัวที่สอง จะอยู่ในเทรนด์ขาลงติดต่อกัน หลักจากนั้นเกิด Doji ตัวที่สามตามมาแต่อยู่ในลักษณะพลิกตัวกลับเป็นขาขึ้นจนทำให้เกิดเป็นรูปคล้ายๆ 3 ดาว (Tri-Star) แท่งเทียนในกลุ่มที่มีรูปแบบลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงความไม่แน่ใจของตลาดที่ติดต่อกันเรื่อยมาตลอด นักลงทุนเกิดความลังเล สับสนในการตัดสินใจ เนื่องจากราคาซื่อเท่ากับราคาขาย ราคาเปิดเท่ากับราคาปิด และเมื่อราคามีการขยับตัวพลิกกลับไปอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นใน Doji ตัวสุดท้าย จึงเปรียบเสมือนเป็นการส่งสัญญาณพลิกกลับของเทรนด์จากลงเป็นขึ้นนั้นเอง
ขาลง Bearish Tri Star เป็นรูปแบบแท่งเทียนที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย ลักษณะคือในช่วงเทรนด์ขาขึ้น เกิดมีแท่งเทียนรูปแบบ Doji ขึ้น 3 ตัว โดยตัวแรกและตัวที่สอง จะอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นติดต่อกัน หลักจากนั้นเกิด Doji ตัวที่สามตามมาแต่อยู่ในลักษณะพลิกตัวกลับเป็นขาลง จนทำให้เกิดเป็นรูปคล้ายๆ 3 ดาว (Tri-Star) แท่งเทียนในกลุ่มที่มีรูปแบบลักษณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงความไม่แน่ใจของตลาดที่ติดต่อกันเรื่อยมาตลอด นักลงทุนเกิดความลังเล สับสนในการตัดสินใจ เนื่องจากราคาซื่อเท่ากับราคาขาย ราคาปิดเท่ากับราคาปิด และเมื่อราคามีการขยับตัวพลิกกลับไปอยู่ในเทรนด์ขาใน Doji ตัวสุดท้าย จึงเปรียบเสมือนเป็นการส่งสัญญาณพลิกกลับของเทรนด์จากขึ้นลงเป็นลงนั้นเอง
24.Long Lower Shadow VS Long Upper Shadow
ขาขึ้น Long Lower Shadow เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีเขียวที่มีไส้เทียนด้านล่างยาวมาก โดยที่ตัวแท่งเทียน (Body) มีขนาดสั้นและอยู่บริเวณใกล้เคียงไส้เทียนด้านบนจนเกือบจะติดกัน คือมีไส้เทียนด้านบนยื่นออกมาเล็กน้อย แท่งเที่ยนลักษณะเช่นนี้หมายถึง หุ้นหรือค่าเงินที่มีราคาปิดที่สูงกว่าราคาเปิด(ราคาสูงขึ้น) โดยมีราคาปิดที่ใกล้เคียงกับราคาสูงสุดอีกด้วย มีสาเหตุก็เนื่องมาจากมีแรงซื้อเข้ามาในจำนวนมากๆและรวดเร็ว จึงทำให้ราคาดิ่งสูงขึ้น เกิดเป็นรูปลักษ์ Long Lower Shadow ซึ่งหมายถึงบอกแนวโน้มขาขึ้นจะยังคงอยู่ขึ้นต่อไป แต่เมื่อแรงซื้อถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ก็อาจเกิดเทรนด์พลิกกลับจากขึ้นเป็นลงได้เช่นกัน ฉนั้นรูปลักษณ์ Long Lower Shadow ยังไม่ใช่การบอกทิศทางของแนวโน้มที่ชัดเจนพอ โอกาสที่จะพลิกตัวกลับจากขึ้นเป็นลง หรือยังคงขึ้นต่อไปอีกมีได้ทั้งนั้น
ขาลง Long Upper Shadow เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีแดงที่มีไส้เทียนด้านบนยาวมาก โดยที่ตัวแท่งเทียน (Body) มีขนาดสั้นและอยู่บริเวณต่ำใกล้เคียงไส้เทียนด้านล่างจนเกือบจะติดกัน คือมีไส้เทียนด้านล่างยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย แท่งเที่ยนลักษณะเช่นนี้หมายถึง หุ้นหรือค่าเงินที่มีราคาเปิดที่สูงกว่าราคาปิด(ราคาต่ำลง) โดยมีราคาปิดที่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุด มีสาเหตุก็เนื่องมาจากมีแรงขายเข้ามาในจำนวนมากๆและรวดเร็ว จึงทำให้ราคาลดต่ำลงไป เกิดเป็นลักษณะ Long Upper Shadow ซึ่งหมายถึงบอกแนวโน้มขาลงจะยังคงอยู่ลงต่อไป แต่เมื่อแรงซื้อถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ก็อาจเกิดเทรนด์พลิกกลับจากลงเป็นขึ้นได้เช่นกัน ฉนั้นรูปลักษ์ Long Upper Shadow ยังไม่ใช่การบอกทิศทางของแนวโน้มที่ชัดเจนพอ โอกาสที่จะพลิกตัวกลับจากลงเป็นขึ้นหรือยังคงต่ำลงไปเรื่อยๆอีก มีได้ทั้งนั้น
25.Bullish Meeting Line VS Bearish Meeting Line
ขาขึ้น Bullish Meeting Line เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีเขียวของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในเทรนด์ขาลง ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นแท่งเทียนสีแดงที่มีราคาเปิดกระโดดลงจากราคาปิดของเทรนด์ขาลงในวันก่อนๆ โดยตัวแท่งเทียนสีเขียวล่าสุดนี้ก็มีราคาเปิดที่กระโดดลงจากราคาปิดของแท่งเทียนสีแดงเช่นกัน แต่ท้ายสุดมีการปรับตัวขึ้นมาปิดราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันกับราคาเปิดของแท่งเทียนสีแดงก่อนหน้า ลักษณะเช่นนี้หมายถึงแรงซื้อกับแรงขายเท่ากัน แนวโน้มหรือทิศทางต่อไปอาจจะเกิดการกลับตัวจากขาลงเปลี่ยนเป็นขาขึ้น แต่โอกาสการกลับตัวยังสู้แท่งเทียนในรูปแบบลักษณะของ piercing pattern ไม่ได้ จึงควรรอยืนยันจากแท่งเทียนตัวต่อไปที่มีราคาปิดสูงขึ้นกว่าแท่งเทียนสีเขียวนี้
ขาลง Bearish Meeting Line เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีแดงของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นแท่งเทียนสีเขียวที่มีราคาเปิดกระโดดขึ้นจากราคาปิดของเทรนด์ขาขึ้นในวันก่อน โดยตัวแท่งเทียนสีเเดงล่าสุดนี้ก็มีราคาเปิดที่กระโดดขึ้นจากราคาปิดของแท่งเทียนสีเขียวเช่นกัน แต่ท้ายสุดมีการปรับตัวลดลงมาเปิดราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันกับราคาปิดของแท่งเทียนสีเขียวก่อนหน้า ลักษณะเช่นนี้หมายถึงแรงซื้อกับแรงขายเท่ากัน แนวโน้มหรือทิศทางต่อไปอาจจะเกิดการกลับตัวจากขาขึ้นเปลี่ยนเป็นขาลง แต่โอกาสการกลับตัวยังสู้แท่งเทียนในรูปแบบลักษณะของ Dark Cloud Coverไม่ได้ จึงควรรอยืนยันจากแท่งเทียนตัวต่อไปที่มีราคาปิดสูงขึ้นกว่าแท่งเทียนสีแดงนี้
26.Bullish Stick Sandwich VS Bearish Stick Sandwich
ขาขึ้น Bullish Stick Sandwich เป็นรูปแบบเเท่งเทียน 3 แท่งของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในช่วงขาลง เริ่มจากแท่งแรกเป็นแท่งเทียนสีแดงที่มีราคาปิดต่ำลงมาตามเทรนด์ขาลงก่อนหน้า จากนั้นเกิดแท่งเทียนสีเขียวตามมาเป็นแท่งที่สอง ซึ่งมีราคาปิดที่สูงกว่าแท่งแรก และล่าสุดแท่งที่สามเกิดเป็นแท่งเทียนสีแดงอีกครั้ง โดยมีราคาเปิดที่สูงกว่าแท่งที่สอง แต่ในที่สุด ราคาที่ปิดล่าสุดกับตกไปอยู่ในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกับราคาปิดของแท่งเทียนแท่งเเรก ลักษณะเช่นนี้หากมองในอีกมุม โดยเอาแท่งแรกกับแท่งที่สามมารวมกัน ก็จะดูคล้ายๆ Inverted hammer ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกการกลับตัวจากขาลงเป็นขึ้นนั่นเอง และเพื่อความมั่นใจมากยิ่งขึ้นควรมีการยืนยันอีกแท่งด้วยแท่งเทียนสีเขียว ที่มีราคาเปิดเหนือกว่าราคาปิดของแท่งที่สามที่มีรูปลักษณ์เป็น Marubozu
ขาลง Bearish Stick Sandwich เป็นรูปแบบเเท่งเทียน 3 แท่งของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในช่วงขาขึ้น เริ่มจากแท่งแรกเป็นแท่งเทียนสีเขียวที่มีราคาปิดสูงขึ้นไปตามเทรนด์ขาขึ้นก่อนหน้า จากนั้นเกิดแท่งเทียนสีเเดงตามมาเป็นแท่งที่สอง ซึ่งมีราคาปิดที่ต่ำกว่าแท่งแรก และล่าสุดแท่งที่สามเกิดเป็นแท่งเทียนสีเขียวอีกครั้ง โดยมีราคาเปิดที่ต่ำกว่าแท่งที่สอง แต่ในที่สุด ราคาที่ปิดล่าสุดกับขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกับราคาปิดของแท่งเทียนแท่งเเรก ลักษณะเช่นนี้หากมองในอีกมุมหนึ่งโดยเอาแท่งแรกกับแท่งที่สามมารวมกัน ก็จะดูคล้ายๆ Shooting Star ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง และเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นควรมีการยืนยันอีกแท่งด้วยแท่งเทียนสีเเดง ที่มีราคาเปิดต่ำกว่าราคาปิดของแท่งที่สาม ที่มีรูปลักษณ์เป็น Marubozu